คราวนี้เน้นเรื่องการล็อกล้อ เห็นว่าในกรุงเทพฯ โดนกันประจำ
มาตรา ๕๙ วรรคสอง "ขัดขวางเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่มิให้เคลื่อนย้ายรถหรือมิให้ใช้เครื่องมือบังคับรถมิให้เคลื่อนย้าย" (ห้ามพนักงานเจ้าหน้าที่เปรียบเทียบหรือว่ากล่าวตามมาตรา ๑๔๐) มีบทกำหนดโทษตาม "มาตรา ๑๕๙ วรคหนึ่ง จำคุกไม่เกิน ๓ เดือนหรือปรับไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ"
มาตรา ๕๙ วรรคสอง "ทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งเครื่องมือบังคับรถมิให้เคลื่อนย้าย" (ห้ามพนักงานเจ้าหน้าที่เปรียบเทียบหรือว่ากล่าวตามมาตรา ๑๔๐) มีบทกำหนดโทษตาม "มาตรา ๑๕๙ วรคหนึ่ง จำคุกไม่เกิน ๓ เดือนหรือปรับไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ"
มาตรา ๕๙ วรรคสอง "เคลื่อนย้ายรถที่เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ใช้เครื่องบังคับมิให้เคลื่อนย้ายโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานจราจรหรือพนักงานสอบสวน" (ห้ามพนักงานเจ้าหน้าที่เปรียบเทียบหรือว่ากล่าวตามมาตรา ๑๔๐) มีบทกำหนดโทษตาม "มาตรา ๑๕๙ วรคหนึ่ง จำคุกไม่เกิน ๓ เดือนหรือปรับไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ"
จากทั้งสามหัวข้อ ระบุไว้ชัดเจนว่าไม่สามารถว่ากล่าวตักเตือน โดยไม่ลงโทษได้เลย อย่างน้อยต้องปรับ ด้วยกฎดังกล่าวทำให้ตำรวจจราจรที่จะได้ส่วนแบ่งจากค่าปรับกระตือรือร้นที่จะล็อกล้อเสียเหลือเกิน ทั้ง ๆ ที่ตามหลักการที่ถูกต้องแล้วเมื่อรถจอดกีดขวางทางจราจรก็ควรจะออกไปจากพื้นที่ที่กีดขวางให้เร็วที่สุด ด้วยการให้ใบสั่งแล้วไปจ่ายทีหลัง แต่ระบบใบสั่งไม่ประสบความสำเร็จเพราะมีพรรคพวกเส้นสายกันมั่วไปหมด ก็เลยล็อกล้อเสีย กว่าจะมาปลดออกรถก็ติดทั้งถนนไปแล้ว