ปัญหาสำคัญของมวลหมู่มนุษยชาติในปี ๒๐๐๘ และต่อ ๆ ไป คือ วิกฤติพลังงาน ที่สืบเนื่องมาจากน้ำมันเชื้อเพลิงในรูปแบบต่าง ๆ กำลังจะหมดไปจากโลก อีกทั้งการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับหนึ่ง (จีน) และอันดับสอง (อินเดีย) ทำให้เกิดความต้องการการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นมาทำให้ความขาดแคลนยิ่งเลวร้ายลงไปอีก จากปัญหาดังกล่าวทำให้เกิดแรงผลักดันในการคิดค้น "พลังงานทดแทน" ขึ้นมาเพื่อเอามาใช้ทั้งในครัวเรือน การขนส่ง และอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น ก๊าซธรรมชาติ (LPG และ CNG) น้ำมันแก๊สโซฮอล น้ำมันไบโอดีเซลบีต่าง ๆ กัน เป็นต้น รวมไปถึงการพัฒนาพลังงานในรูปแบบอื่น ๆ เช่น ถ่านหิน น้ำ ลม แสงอาทิตย์ และนิวเคลียร์ ซึ่งพลังงานทดแทนเหล่านี้ถูกคาดหวังว่าจะนำมาใช้แทนน้ำมันได้ในอนาคตอันใกล้
แต่ก็มีนักคิดกลุ่มเล็ก ๆ กลุ่มหนึ่งที่มองว่า การแก้ไขปัญหาวิกฤติพลังงานด้วยพลังงานทดแทนไม่ใช่ทางออกที่มีประสิทธิภาพ แถมยังไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนอีกด้วย ช่างติดตั้งแก๊สรถยนต์บอกผู้เขียนว่า คนที่ติดแก๊สรถยนต์ ตอนแรกคิดว่าเมื่อติดแก๊สแล้วจะเสียค่าพลังงานลดลง แต่เอาเข้าจริง ๆ กลับเสียเงินเท่าเดิมหรือมากขึ้นเสียอีก เพราะคิดว่าค่าพลังงานต่อหน่วยถูกลงแล้ว ก็เลยเดินทางมากขึ้นกว่าเดิม ปรากฏการณ์นี้เทียบเคียงได้กับปรากฏการณ์ Tripple Convergence ด้านมาตรการการจราจร ที่ระบุว่ามาตรการการจราจรที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรการด้านอุปทาน เช่น การขยายหรือสร้างถนนเส้นใหม่ จะส่งผลให้ผู้เดินทางเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวมากขึ้น (Modal Convergence) เดินทางในช่วงเวลาเร่งด่วน (Time Convergence) และในพื้นที่ที่มีการจราจรติดขัด (Spatial Convergence)
จากปรากฏการณ์ดังกล่าวเมื่อนำมาเทียบเคียงกับนโยบายด้านพลังงานที่รัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับพลังงานทดแทนเป็นหัวหอก แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า รัฐบาลมีพื้นฐานความคิดว่า ให้ประชาชนเดินทางเท่าเดิม ในรูปแบบเดิมทุกอย่าง เพียงแต่ให้ค่าพลังงานถูกลงเท่านั้น ซึ่งเป็นความคิดที่ Static ไม่ได้มีความ Dynamic ที่จะสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้เลย คิดแต่ว่าผลิตน้ำมันไบโอดีเซลบีห้าได้หนึ่งล้านลิตรต่อวัน จะประหยัดเงินลงไปได้เท่าไหร่ โดยคิดจากฐานปริมาณการใช้งานในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ได้คิดว่า เมื่อราคาน้ำมันไบโอดีเซลถูกลง พฤติกรรมการขนส่งและการเดินทางจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร แล้วจึงมาคิดว่าต้องการปริมาณน้ำมันเท่าไหร่ ในราคาเท่าไหร่ ด้วยวิธีการผลิตแบบใด แล้วจบลงว่ามันคุ้มหรือไม่ที่จะผลักดันไบโอดีเซลบีห้า
นักคิดกลุ่มเล็ก ๆ กลุ่มนี้มีความคิดว่า ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางและการขนส่งของมนุษย์เป็นฐานในการแก้ปัญหาพลังงาน แล้วเอาเรื่องพลังงานทดแทนมาเป็นประเด็นเสริม สิ่งที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมได้คือเศรษฐศาสตร์เมือง ที่กำหนดที่ตั้งของกิจกรรมและการใช้ประโยชน์ที่ดินต่าง ๆ ด้วยหลักการทางเศรษฐศาสตร์ และค่าเดินทางก็เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งของเศรษฐศาสตร์เมือง มาตรการที่คาดว่าน่าจะประสบความสำเร็จในเบื้องต้น เช่น Compact City, Road Pricing ฯลฯ ซึ่งมุ่งใช้ราคามาเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมการเลือกที่ตั้งของกิจกรรมและรูปแบบการเดินทาง และนำเอามาตรการเหล่านี้มาพิจารณาว่า จะใช้พลังงานแบบใดจึงจะคุ้มประโยชน์มากที่สุด ซึ่งเป็นกระบวนการคิดที่กลับทิศทางกับที่รัฐบาลไทยกำลังทำอยู่ (มุ่งเอาค่าพลังงานเป็นตัวตั้ง โดยมีเป้าหมายว่าคนต้องมีพฤติกรรมการเลือกที่ตั้งและรูปแบบการเดินทางแบบเดิม) เชื่อไหมว่า นักการเมืองคิดแบบนี้ไม่ได้หรอก เพราะจะคิดแบบนี้ได้ ต้องเป็นกลุ่มคนที่มีแนวความคิดว่า "เอาประโยชน์ของส่วนรวมและประเทศชาติเป็นที่ตั้ง" ซึ่งไม่ใช่สันดานของนักการเมืองแต่อย่างใด
Monday, March 24, 2008
Sunday, March 16, 2008
"เมืองการค้าชายแดน" กับอนาคตที่สดใสจริงหรือ
ผู้เขียนได้มีโอกาสไปหานโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาเชิงพื้นที่ของประเทศไทยที่จัดขึ้นโดยหน่วยงานต่าง ๆ หลากหลายกันไป โดยมีเป้าหมายอยู่ที่เมืองที่อยู่บริเวณชายแดนติดต่อกับประเทศต่าง ๆ เช่น หนองคาย เชียงแสน มุกดาหาร อรัญประเทศ เบตง สุไหงโกลก ฯลฯ ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยมีความได้เปรียบดุลการค้าอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด จึงควรสนับสนุนความได้เปรียบนั้นต่อไป โดยพัฒนาเมืองเหล่านั้นให้เป็นตลาดการค้าระหว่างประเทศเพื่อพักสินค้าแล้วขายต่อไปโดยมีมูลค่าเพิ่ม
แต่เมื่อลองมาพิจารณาถึงอนาคตด้วยปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ทำให้เกิดข้อสงสัยในการพัฒนาเมืองการค้าชายแดนเหล่านั้น ว่าในอนาคตจะยังมี "การค้าชายแดน" อยู่หรือเปล่า แน่นอนว่าการค้าระหว่างประเทศต้องยังมีอยู่ เพราะแต่ละประเทศมีทรัพยากรและสินค้าที่แตกต่างกัน แต่มีความจำเป็นจะต้องไปหยุดสินค้าและกระจายไปอีกครั้งที่เมืองชายแดนหรือเปล่า ซึ่งดูเหมือนว่าในอนาคตการพักเพื่อลดขนาดในการขนส่ง หรือ repacking เพื่อรวมกับสินค้าประเภทอื่น ๆ ไม่น่าจะเกิดที่ชายแดนอีกต่อไป อีกทั้งนโยบายความร่วมมือระหว่างประเทศที่พยายามจะกำจัดรอยต่อทางการค้าระหว่างพรมแดน ที่ทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้นโดยไม่จำเป็นให้หมดไป ในอนาคตการค้าระหว่างประเทศน่าจะเป็นการสั่งตรงจากผู้ผลิตแล้วส่งไปยังลูกค้าหรือผู้กระจายสินค้าในประเทศผู้ซื้อโดยตรง ด้วยระบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Logistics) ที่มีประสิทธิภาพ ไม่จำเป็นต้องหยุดระหว่างทางที่จะให้ต้นทุนสูงขึั้นโดยไม่จำเป็นอีกต่อไป อีกทั้งเมืองการค้าชายแดนยังไม่ได้ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่จะรวบรวมและกระจายสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพเสียอีก เช่น อำเภออรัญประเทศเป็นเมืองการค้าชายแดน แต่เมืองที่อยู่ในตำแหน่งที่จะรวบรวมและกระจายสินค้าได้ดีที่สุดคือ กบินทร์บุรี เพราะเป็นจุดตัดระหว่างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓ (ตะวันออก-ตะวันตก) กับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ (เหนือ-ใต้)
ถ้าสมมติฐานของผู้เขียนถูกต้อง จะไม่มีเมืองการค้าชายแดนอีกต่อไป แล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับเมืองการค้าชายแดน คำตอบแบบกำปั้นทุบดินก็คือ ต้องไปหาอย่างอื่นทำ และที่มีศักยภาพสูงก็คือ การผลิตด้านอุตสาหกรรมที่มีการขนส่งวัตถุดิบข้ามประเทศ เช่น การนำเอาผลผลิตทางการเกษตรที่เพาะปลูกในประเทศเพื่อนบ้านในลักษณะ Contract Farming แล้วขนส่งมาผลิตขั้นสุดท้ายที่เมืองชายแดนของประเทศไทย เพราะประเทศไทยมีความได้เปรียบด้านเทคโนโลยี คุณภาพแรงงาน และการขนส่งไปสู่ตลาดต่างประเทศที่ดีกว่า การค้าระหว่างประเทศจะเป็นเรื่อง "ระหว่างประเทศ" ที่แท้จริง คือ ผลิตจากแหล่งผลิตที่ไหนก็ได้ในประเทศหนึ่ง แล้วส่งต่อไปยังที่ไหนก็ได้ในอีกประเทศหนึ่ง โดยไม่ต้องอาศัยเมืองการค้าชายแดนมาเป็นข้อต่ออีกต่อไป แต่เชื่อไหมว่า หน่วยงานที่รับผิดชอบคิดเรื่องนี้ไม่ได้หรอก ไม่ใช่เพราะมีบุคคลากรที่ด้อยความสามารถ แต่เขาต้องเอาความสามารถไปทำอย่างอื่นเพื่อให้ได้ยศตำแหน่งก้าวหน้า ช่างมันเหอะ ประเทศไทยไม่ได้เป็นของผู้เขียนเพียงคนเดียว ใครเห็นด้วยกับความคิดของผู้เขียนก็เอาไปเรียกร้องกันเองบ้างเหอะ
แต่เมื่อลองมาพิจารณาถึงอนาคตด้วยปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ทำให้เกิดข้อสงสัยในการพัฒนาเมืองการค้าชายแดนเหล่านั้น ว่าในอนาคตจะยังมี "การค้าชายแดน" อยู่หรือเปล่า แน่นอนว่าการค้าระหว่างประเทศต้องยังมีอยู่ เพราะแต่ละประเทศมีทรัพยากรและสินค้าที่แตกต่างกัน แต่มีความจำเป็นจะต้องไปหยุดสินค้าและกระจายไปอีกครั้งที่เมืองชายแดนหรือเปล่า ซึ่งดูเหมือนว่าในอนาคตการพักเพื่อลดขนาดในการขนส่ง หรือ repacking เพื่อรวมกับสินค้าประเภทอื่น ๆ ไม่น่าจะเกิดที่ชายแดนอีกต่อไป อีกทั้งนโยบายความร่วมมือระหว่างประเทศที่พยายามจะกำจัดรอยต่อทางการค้าระหว่างพรมแดน ที่ทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้นโดยไม่จำเป็นให้หมดไป ในอนาคตการค้าระหว่างประเทศน่าจะเป็นการสั่งตรงจากผู้ผลิตแล้วส่งไปยังลูกค้าหรือผู้กระจายสินค้าในประเทศผู้ซื้อโดยตรง ด้วยระบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Logistics) ที่มีประสิทธิภาพ ไม่จำเป็นต้องหยุดระหว่างทางที่จะให้ต้นทุนสูงขึั้นโดยไม่จำเป็นอีกต่อไป อีกทั้งเมืองการค้าชายแดนยังไม่ได้ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่จะรวบรวมและกระจายสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพเสียอีก เช่น อำเภออรัญประเทศเป็นเมืองการค้าชายแดน แต่เมืองที่อยู่ในตำแหน่งที่จะรวบรวมและกระจายสินค้าได้ดีที่สุดคือ กบินทร์บุรี เพราะเป็นจุดตัดระหว่างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓ (ตะวันออก-ตะวันตก) กับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ (เหนือ-ใต้)
ถ้าสมมติฐานของผู้เขียนถูกต้อง จะไม่มีเมืองการค้าชายแดนอีกต่อไป แล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับเมืองการค้าชายแดน คำตอบแบบกำปั้นทุบดินก็คือ ต้องไปหาอย่างอื่นทำ และที่มีศักยภาพสูงก็คือ การผลิตด้านอุตสาหกรรมที่มีการขนส่งวัตถุดิบข้ามประเทศ เช่น การนำเอาผลผลิตทางการเกษตรที่เพาะปลูกในประเทศเพื่อนบ้านในลักษณะ Contract Farming แล้วขนส่งมาผลิตขั้นสุดท้ายที่เมืองชายแดนของประเทศไทย เพราะประเทศไทยมีความได้เปรียบด้านเทคโนโลยี คุณภาพแรงงาน และการขนส่งไปสู่ตลาดต่างประเทศที่ดีกว่า การค้าระหว่างประเทศจะเป็นเรื่อง "ระหว่างประเทศ" ที่แท้จริง คือ ผลิตจากแหล่งผลิตที่ไหนก็ได้ในประเทศหนึ่ง แล้วส่งต่อไปยังที่ไหนก็ได้ในอีกประเทศหนึ่ง โดยไม่ต้องอาศัยเมืองการค้าชายแดนมาเป็นข้อต่ออีกต่อไป แต่เชื่อไหมว่า หน่วยงานที่รับผิดชอบคิดเรื่องนี้ไม่ได้หรอก ไม่ใช่เพราะมีบุคคลากรที่ด้อยความสามารถ แต่เขาต้องเอาความสามารถไปทำอย่างอื่นเพื่อให้ได้ยศตำแหน่งก้าวหน้า ช่างมันเหอะ ประเทศไทยไม่ได้เป็นของผู้เขียนเพียงคนเดียว ใครเห็นด้วยกับความคิดของผู้เขียนก็เอาไปเรียกร้องกันเองบ้างเหอะ
"คดีรถเรือ-ดับเพลิง" กับเกมชิงความได้เปรียบทางการเมือง
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ข่าวคดีรถ-เรือดับเพลิงได้ขึ้นมาเป็นข่าวร้อนของสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมในเมืองหลวง ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มที่เป็นผู้นำทางความคิดของประเทศ ด้วยประเด็นที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ควงคู่หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะออกมาประกาศพักการทำงาน หลังจากที่ คตส.ชี้ว่าผู้ว่าฯ อภิรักษ์ มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีทุจริตดังกล่าว สังคมคนเมืองออกมาชื่นชมการตัดสินใจของผู้ว่าฯ ในขณะที่พรรคพลังประชาชนต้องออกมาปกป้องตัวเองเป็นพัลวัน เพราะมีนักการเมืองระดับแกนนำพรรคหลายคนที่มีคดีเทียบเคียงได้กับคดีของผู้ว่าฯ ไล่ตั้งแต่ตัวนายกฯ สมัคร และรัฐมนตรีอีก ๓ คน (คดีหวยบนดิน) ซึ่งนักการเมืองเหล่านี้ถูกสังคมเมืองประณามว่าไร้ยางอาย ไม่มีจริยธรรม ฯลฯ
ผู้เขียนติดตามเรื่องนี้ด้วยความตื่นเต้น เพราะนี่คือเกมการชิงความได้เปรียบทางการเมืองที่มีเดิมพันสูงทีเดียว โดยพรรคประชาธิปัตย์เอาระดับรองหัวหน้าพรรคที่มีศักยภาพสูงมาเสี่ยงด้วยยุทธการ "ม้าแลกขุน" เพื่อผลักแรงกดดันที่พรรคประชาธิปัตย์จะต้องแบกรับผ่องถ่ายไปสู่พรรคพลังประชาชน ด้วยข้อหาด้อยจริยธรรมทางการเมือง แต่พรรคพลังประชาชนก็แก้เกมด้วยการถามย้อนกลับว่า "ทำไมไม่ลาออกเลยล่ะ" เพราะการพักงาน ก็คือยังคงมีอำนาจเหมือนเดิม เพราะผู้มารักษาการแทนก็คือรองผู้ว่าฯ ซึ่งก็เป็นคนก๊กเดียวกันนั่นแหละ ผู้ว่าฯ ก็เลยต้องเปลี่ยนจากพักงานเพื่ออำนาจต่อรองเฉย ๆ เป็นการลากิจ ๓๐ วัน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการมหาดไทยก็ไม่อนุมัติเสียอีก
เรื่องนี้เป็นการชิงเไหวพริบเพื่อความได้เปรียบในฐานเสียงคนเมืองอย่างชัดเจน การพักงานก็เพื่อกดดันพรรคพลังประชาชน ผู้ว่าฯ เองก็ไม่กล้าลาออกให้เลือกตั้งกันใหม่ เพราะกลัวออกแล้วจะไม่ได้กลับมาอีก (เชื่อว่า สถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน ผู้ว่าฯ จะลงสมัครอีกสมัย เพราะออกมาตอนนี้ก็ไม่มีที่ลงที่เหมาะสมกับก้าวที่ใหญ่กว่าต่อไป) พรรคพลังประชาชนก็ไม่คิดจะพักงานนักการเมืองระดับแกนนำของตนเองอยู่แล้ว เพราะแค่หายไป ๑๑๑ คน ก็หาคนที่สังคมพอจะยอมรับได้มาทำงานยากอยู่แล้ว การเคลื่อนไหวของผู้ว่าฯ อภิรักษ์มีเป้าหมายเพื่อยึดฐานเสียงกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่เอาไว้ให้แน่น เพราะเมื่อพลังประชาชนได้เป็นรัฐบาล ความได้เปรียบของการปกครองข้าราชการทำให้พลังประชาชนถือไพ่เหนือกว่า และเริ่มรุกเข้ามีชิงความได้เปรียบในเมืองมากขึ้นเรื่อย ๆ พรรคประชาธิปัตย์ก็ต้องหาช่องมารักษาฐานเสียงสำคัญของตนเอง
ดังนั้น การเคลื่อนไหวของทั้งสองพรรคจึงเป็นเรื่องการเมืองเท่านั้น ไม่ได้มีใครคิดถึงจริยธรรม บรรทัดฐาน หรือคุณธรรมแต่อย่างใด พวกเราคนธรรมดาก็ควรดูเหมือนกับดูหนังดูละคร อย่าเอาตัวเข้าไปเกี่ยวข้อง สนับสนุน เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง มันเป็นสถานการณ์ทางการเมืองที่บังคับให้ทั้งสองพรรคต้องทำอย่างที่แต่ละฝ่ายทำอยู่ ลองกลับกัน ให้ประชาธิปัตย์เป็นพรรครัฐบาล แล้วพลังประชาชนเป็นพรรคฝ่ายค้านแต่ท่านเฉลิมเป็นผู้ว่าฯ กทม. พรรคพลังประชาชนก็จะให้ท่านเฉลิมพักงาน ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ก็จะไม่ยอมให้ท่านอภิสิทธ์ ท่านเทพเทือก ฯลฯ ที่เป็นรัฐมนตรีแถวหน้าพักงานเหมือนกันนั่นแหละ ไม่ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร ประชาชนและประเทศชาติก็จะเป็นผู้เสียหายอยู่ดี เพราะสันดานนักการเมืองก็คิดแต่ประโยชน์ของตนเองนั่นแหละ
ผู้เขียนติดตามเรื่องนี้ด้วยความตื่นเต้น เพราะนี่คือเกมการชิงความได้เปรียบทางการเมืองที่มีเดิมพันสูงทีเดียว โดยพรรคประชาธิปัตย์เอาระดับรองหัวหน้าพรรคที่มีศักยภาพสูงมาเสี่ยงด้วยยุทธการ "ม้าแลกขุน" เพื่อผลักแรงกดดันที่พรรคประชาธิปัตย์จะต้องแบกรับผ่องถ่ายไปสู่พรรคพลังประชาชน ด้วยข้อหาด้อยจริยธรรมทางการเมือง แต่พรรคพลังประชาชนก็แก้เกมด้วยการถามย้อนกลับว่า "ทำไมไม่ลาออกเลยล่ะ" เพราะการพักงาน ก็คือยังคงมีอำนาจเหมือนเดิม เพราะผู้มารักษาการแทนก็คือรองผู้ว่าฯ ซึ่งก็เป็นคนก๊กเดียวกันนั่นแหละ ผู้ว่าฯ ก็เลยต้องเปลี่ยนจากพักงานเพื่ออำนาจต่อรองเฉย ๆ เป็นการลากิจ ๓๐ วัน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการมหาดไทยก็ไม่อนุมัติเสียอีก
เรื่องนี้เป็นการชิงเไหวพริบเพื่อความได้เปรียบในฐานเสียงคนเมืองอย่างชัดเจน การพักงานก็เพื่อกดดันพรรคพลังประชาชน ผู้ว่าฯ เองก็ไม่กล้าลาออกให้เลือกตั้งกันใหม่ เพราะกลัวออกแล้วจะไม่ได้กลับมาอีก (เชื่อว่า สถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน ผู้ว่าฯ จะลงสมัครอีกสมัย เพราะออกมาตอนนี้ก็ไม่มีที่ลงที่เหมาะสมกับก้าวที่ใหญ่กว่าต่อไป) พรรคพลังประชาชนก็ไม่คิดจะพักงานนักการเมืองระดับแกนนำของตนเองอยู่แล้ว เพราะแค่หายไป ๑๑๑ คน ก็หาคนที่สังคมพอจะยอมรับได้มาทำงานยากอยู่แล้ว การเคลื่อนไหวของผู้ว่าฯ อภิรักษ์มีเป้าหมายเพื่อยึดฐานเสียงกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่เอาไว้ให้แน่น เพราะเมื่อพลังประชาชนได้เป็นรัฐบาล ความได้เปรียบของการปกครองข้าราชการทำให้พลังประชาชนถือไพ่เหนือกว่า และเริ่มรุกเข้ามีชิงความได้เปรียบในเมืองมากขึ้นเรื่อย ๆ พรรคประชาธิปัตย์ก็ต้องหาช่องมารักษาฐานเสียงสำคัญของตนเอง
ดังนั้น การเคลื่อนไหวของทั้งสองพรรคจึงเป็นเรื่องการเมืองเท่านั้น ไม่ได้มีใครคิดถึงจริยธรรม บรรทัดฐาน หรือคุณธรรมแต่อย่างใด พวกเราคนธรรมดาก็ควรดูเหมือนกับดูหนังดูละคร อย่าเอาตัวเข้าไปเกี่ยวข้อง สนับสนุน เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง มันเป็นสถานการณ์ทางการเมืองที่บังคับให้ทั้งสองพรรคต้องทำอย่างที่แต่ละฝ่ายทำอยู่ ลองกลับกัน ให้ประชาธิปัตย์เป็นพรรครัฐบาล แล้วพลังประชาชนเป็นพรรคฝ่ายค้านแต่ท่านเฉลิมเป็นผู้ว่าฯ กทม. พรรคพลังประชาชนก็จะให้ท่านเฉลิมพักงาน ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ก็จะไม่ยอมให้ท่านอภิสิทธ์ ท่านเทพเทือก ฯลฯ ที่เป็นรัฐมนตรีแถวหน้าพักงานเหมือนกันนั่นแหละ ไม่ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร ประชาชนและประเทศชาติก็จะเป็นผู้เสียหายอยู่ดี เพราะสันดานนักการเมืองก็คิดแต่ประโยชน์ของตนเองนั่นแหละ
Subscribe to:
Posts (Atom)