Sunday, January 28, 2007

ชอง เอลิเซ่เมืองไทย



รูปนี้ถ่ายตอนรถติด เย็นวันศุกร์ที่ ๒๖ มกราคา ๒๕๕๐ ทำให้นึกถึงโครงการที่จะทำถนนราชดำเนินให้เป็นชอง เอลิเซ่ จะเป็นไปได้หรือ คงต้องเบี่ยงการจราจรกันทั้งเมือง เพราะถนนชองเอลิเซ่ที่ปารีส มีขนาดใหญ่ก็จริง แต่ก็ไม่ได้เป็นเส้นทางที่มีปริมาณการจราจรมากแบบถนนราชดำเนิน อีกทั้งยังมี Frontage Road เพื่อแยก Through Traffic ออกจาก Local Traffic เพื่อทำให้เกิดบรรยากาศที่ดี เหมาะแก่การมีชีวิตเมืองสองข้างถนนอีกด้วย

พานพุ่มขนาดใหญ่ยักษ์ เพื่อบวงสรวงหรือทำความเคารพอะไรสักอย่าง ของขนาดใหญ่ผิดสเกลมนุษย์แบบนี้ คนไทยถนัดนัก

Over Capacity

รถกระบะถูกพิจารณาว่าเป็นรถสำหรับใช้งาน บรรทุกสินค้า และขนส่งคนได้จำนวนมากกว่ารถเก๋ง แต่เรื่องของความปลอดภัยแล้วน่าเป็นห่วง หน่วยงานของรัฐเองก็รับรู้ เห็นได้จากมาตรการห้ามรถกระบะที่ไม่มีหลังคาบรรทุกคนในกระบะเฉพาะบนทางด่วนเท่านั้น แล้วถนนปกติมันต่างจากทางด่วนอย่างไร???

นางกวักเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสถานประกอบการและร้านค้าของไทยมาเป็นเวลานาน แต่นางกวักในยุคปัจจุบันมีความหลากหลายทางหน้าตาและรูปทรงมากขึ้น ในบางกรณี นางกวัก ๑ นางกวัก ไม่สามารถจะทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ จึงเกิดเป็นกลุ่มนางกวักขึ้นเพื่อช่วยกันทำงาน

Tuesday, January 23, 2007

ทำไมทางเท้าเป็นที่วางขยะ???

ถ้าคุณอยากให้ทางเท้าเป็นพื้นที่สาธารณะที่ส่งเสริมการเป็นเมืองที่ดี ทางเท้าจะต้องสะอาดและมีบรรยากาศน่าเดิน แต่ทางเท้าไม่ได้หน้าที่แค่เป็นเส้นทางสัญจรเท่านั้น แต่ยังเป็นที่ตั้งของโครงสร้างพื้นฐานของเมือง เช่น เสาไฟฟ้า ท่อระบายน้ำ และที่ถ่ายกองขยะจากอาคาร เพื่อให้รถเก็บขยะสามารถเก็บและขนส่งได้อย่างสะดวก นำมาสู่ความขัดแย้งระหว่างการเป็นเส้นทางสัญจรกับการเป็นพื้นที่สำหรับโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้ทางเท้าไม่สามารถตอบสนองอะไรได้สักอย่าง จะเป็นเส้นทางสัญจรก็ไม่ดี เป็นที่ของโครงสร้างพื้นฐานหรือที่ถ่ายกองขยะก็ไม่ได้อีก

ใครเป็นเจ้าของทางเท้า???


ทางเท้าคือพื้นที่สาธารณะที่ตามหลักการแล้วควรถูกใช้เป็นทางเดินเท้าสำหรับพลเมืองทุกคน แต่ทางเท้าส่วนใหญ่กลับถูกครอบครองและจับจองพื้นที่โดยเจ้าของอาคารที่อยู่บนทางเท้า ทำให้หน้าที่ในการเป็นเส้นทางสัญจรสาธารณะถูกเบียดบังไป ตัวอย่างเช่นทางเท้าจังหวัดนครปฐม ตรงสามแยกมาลัยแมน ฝั่งตรงข้ามมหาวิทยาลัยศิลปากร ทางเท้าถูกเจ้าของอาคารเอารถมอเตอร์ไซค์มาจอด เอาต้นไม้มาตั้งเพื่อเป็นการประกาศว่า "ฉันเป็นเจ้าของทางเท้า ไม่ใช่ที่สาธารณะนะจ๊ะ"

Friday, January 19, 2007

เมืองแห่งป้าย Swamp with information

กรุงเทพฯ เป็นเมืองแห่งป้าย ทั้งป้ายโฆษณา ป้ายจราจร ฯลฯ ป้ายเหล่านี้มีผลต่อความปลอดภัยทางการจราจร เพราะอาจทำให้ผู้ขับขี่ยานพาหนะและผู้สัญจรบนทางเท้าสูญเสียสมาธิในการจราจรได้ แต่เหมือนกับไม่มีใครสนใจในประเด็นดังกล่าวแม้แต่ภาครัฐ ภาพนี้ถ่ายบริเวณทางลงทางด่วนรัชดาภิเษก แค่ระยะ ๒๐ เมตร มีป้ายถึง ๔ ป้าย ตั้งแต่ป้ายบังคับเลี้ยวซ้าย ป้ายบอกว่าสุดเขตความรับผิดชอบของ สน.ทางด่วน๒ ป้ายบอกทิศทางการจราจร และป้ายสุดท้ายคือป้าย "หยุด" ป้ายที่อยู่ด้านหลังถูกป้ายด้านหน้าบัง ทำให้ไม่มีความชัดเจนในการสื่อสาร

Thursday, January 18, 2007

เมืองแห่งมลภาวะ





ภาพจากชั้น ๑๔ โรงแรมดิเอมเมอรัล ถนนรัชดาภิเษก ถ่ายในเวลาประมาณ ๙ โมงเช้า มองเห็นหมอกควันที่ปกคลุมกรุงเทพฯ ทำให้ทัศนวิสัยถูกจำกัด คุณภาพของอากาศในกรุงเทพฯ กำลังมีปัญหาอย่างหนัก

Wednesday, January 17, 2007

มหาวิทยาลัยคือตัวอย่างของสังคม

ผ้าสีชมพู ผูกไว้กับรั้วบริเวณเกาะกลางถนน เพื่อสร้างบรรยากาศของการแข่งขันฟุตบอลประเพณีที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย ผ้าเหล่านั้นถูกผูกกับรั้วเหล็กด้วยเชือกฟาง โดนแดด ลม ความชื้น ฯลฯ ถ้าวันใดเชือกฟางขาด ผ้าปลิวไปปิดหน้ากระจกรถหรือคลุมหัวคนขับรถมอเตอร์ไซค์ที่กำลังวิ่งด้วยความเร็ว แล้วเกิดอุบัติเหตุ มหาวิทยาลัยคงพูดได้เพียง "Ooops, We are soooooo sorry"

ทางเท้าถูกสร้างไว้ด้วยเหตุผลสองประการ คือ เป็นช่องทางสำหรับมนุษย์ และที่วางโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อเมือง เมื่อทางเท้าต้องทำหน้าที่สองอย่าง การจัดการที่ดีมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้พื้นที่จำกัดตอบสนองความต้องการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่การจัดวางตำแหน่งของหัวดับเพลิง และเสาไฟฟ้าแสงสว่าง ได้ผ่านการจัดการที่ดีแล้วหรือ จึงแทนไม่เหลือทางเดินให้มนุษย์ได้ใช้งานบ้างเลย


นโยบายสนับสนุนให้คนใช้ทางเท้า ไม่สามารถทำได้เพราะป้อมตำรวจกินพื้นที่หมดทั้งทางเดิน


ภาพเหล่านี้ ถูกถ่ายในบริเวณของมหาวิทยาลัย "ที่ได้ชื่อว่า" เป็นอันดับหนึ่งของประเทศไทย เป็นผู้นำและตัวอย่างทางความคิดต่อสังคมไทยเป็นอย่างมาก มาดูกันว่า นี่คือตัวอย่างที่สังคมไทยควรยึดถือเป็นต้นแบบหรือไม่
รูปแรก "กรงมนุษย์" โรงอาหารใกล้หอสมุดกลาง ต้องการการป้องกันนก เนื่องจากนกนำมาซึ่งเชื้อโรค เช่น ไข้หวัดนก ไข้สมองอักเสบ วิธีการก็คือการป้องกันมนุษย์ออกจากนก โดยเอากรงมาล้อมมนุษย์ รวมถึงส่วนขายและส่วนรับประทานอาหารเสียเลย

Monday, January 15, 2007

Rayong Trip


Every Thai house has a traditional spirit house. I found this special and appropriate technology spirit house in a fishery village. A Zinc box, which used to be the packgage of gasoline, was invented to be the spirit house. The inventor re-arranged the important elements of the traditional spirit houses, like the windows.


A barber shop behind Rayong Bus Terminal reminded me the old life style. When I was young, women were not allowed to be barbers because Thai's culture prohibited women touching men's head. But, currently, it is very difficult of find the old style barber shops with male barbers and la-z boy-like barber chairs.


In Rayong, a lot of students travel by regional or provincial buses from their homes to Rayong Bus Terminal. Then they change to mini bus and ride to school. This picture was taken at the mini bus station at the Rayong Bus Terminal. You can see the students took a very high risk for fatal accident.


I joined Dr.Noppanant and Dr.Apiwat on NESDC Project Survey. I found these drinking bottle with very toxicate color at Foodcourt of Rayong Provincial Office.

Sunday, January 14, 2007

Let's Start!!!

This blog is my collection about what happens in cities, mainly Bangkok.
I found a lot of unexpected and unbelievable scenes in cities.
I analyse those scenes by my personal judgement, as an urban and transportation planner, and academic lecturer as well.
Hope you enjoy!!!