น้ำมันกลับมาแพงอีกแล้ว พลังงานทดแทนก็เลยกลับมาเป็น hot issue อีกครั้ง การติดตั้งก๊าซ CNG และ LPG คึกคัก ก็ให้สงสัยว่าประเทศนี้มีนโยบายพลังงานกันอย่างไร จึงเปลี่ยนแปลงไปได้ตามราคาน้ำมันของโลกได้เสมอ พอไปสืบค้นดูก็พบอะไรบางอย่างที่น่าสนใจ
ความน่าสนใจอยู่ที่ นโยบายพลังงานที่ขัดแย้งกันระหว่างสองกระทรวงหลักที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานของประเทศ คือ กระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงพลังงาน
"กระทรวงพลังงาน" ผู้รับผิดการจัดหาและการใช้พลังงานของประเทศ สนับสนุนให้ติดก๊าซ CNG ในยานพาหนะทุกชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับยานพาหนะส่วนบุคคล เพราะถือว่าเป็นยานพาหนะที่มีคนใช้เยอะที่สุด ติดแล้วคิดว่าน่าจะช่วยประหยัดพลังงานของประเทศได้
"กระทรวงอุตสาหกรรม" ส่วนที่ทำนโยบายยานยนต์ของประเทศ สนับสนุนให้ผลิด Eco Car กับรถยนต์ส่วนตัว ให้เป็นรถยนต์ที่ใช้พลังงานน้ำมัน หรือ พลังงานอื่น ๆ ที่มีประสิทธิภาพสูง ส่วนก๊าซ CNG จะใช้กับรถสาธารณะ ทั้งขนส่งบุคคลและสินค้า เนื่องจากหาปั๊มก๊าซยาก การขนส่งลำบาก ต้องใช้รถบรรทุกขนส่งก๊าซ ซึ่งก็ขนส่งได้ครั้่งละไม่มาก การส่งด้วยระบบท่อไม่เกิดขึ้นในเร็ววันนี้แน่ ๆ และจะเกิดขึ้นในอนาคตหรือเปล่าก็ไม่รู้ จึงให้ใช้กับรถสาธารณะที่เดินทางเป็นประจำจากจุดต้นทางที่แน่นอนไปยังจุดหมายปลายทางที่แน่นอนอีกเหมือนกัน เมื่อรู้จุดต้นกับจุดปลายที่แน่นอน ก็เตรียมปั๊มก๊าซในตำแหน่งที่เหมาะสมได้ แต่ถ้าใช้ก๊าซ CNG กับรถยนต์ส่วนตัว จัดหาก๊าซและตำแหน่งปั๊มไม่ไหวแน่ เพราะมี demand กระจายทั่วประเทศ ให้บริการได้ไม่ทั่วถึง
พอได้เข้าไปเจาะนโยบายของทั้งสองกระทรวงแล้ว ก็ยินดียิ่ง ที่ประเทศไทยมีนโยบายเรื่องเดียวกัน แต่ขัดแย้งกันได้อย่างไม่น่าเชื่อ แล้วผู้ประกอบการจะวางแผนพัฒนาได้อย่างไร ประชาชนจะเลือกแนวทางไหนในการดำเนินชีวิต ในเมื่อหน่วยงานภาครัฐที่ต้องกำหนดทิศทางของประเทศให้คนอื่นเดินตาม ยังไม่อยู่กับร่องกับรอยอย่างนี้ ช่างมันเหอะ